วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 20 มิถุนายน 2556

ให้นำบรรจุภัณฑ์ที่ตนเองนำมาแล้วนำมาวิเคราะห์รายระเอียดว่าตัวบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง
บรรจุภัณฑ์ที่นำมาวิเคราะห์ศึกษาคือ "จิราพร กล้วยตาก"
(JIRAPORN BANANA)
จิราพรกล้วยตากนั้นจะเป็นกล้วยตากชนิดแบน (Solar Dried Natural Banana Flat Shape) โดยตัวกล้วยนั้จะถูกแพ็คไว้ในห่อพลาสติกภายในกล่องเพื่อเป็นการเก็บอุณหภูมิของความอร่อยไว้ได้นานที่สุดโดยวิธีการเก็บกล้วต้องรอ 110 วัน โดยลักษณะตัวบรรจุภัณฑ์นี้นั้นจะเป็นวัสดุที่เป็นกระดาษซะส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้แต่จะมีตัวที่เป็นพลาสติกนั้นก็คือตัวที่แพ็คกล้วยตากไว้ด้านในกล่องอย่างเดียวและตัวกล่องนั้นจะใช้สีไปทางโทนน้ำตาลทั้งเพราะเป็นสีที่คล้ายๆกับตัวกล้วยตากนั้นเองจึงให้อารมณ์ที่น่ารับประทานมากยิ่งขึ้นและดูสะอาดดูดีเพราะมีการเล่นสีทองเข้ามาด้วยนั้นเอง

โดยเราจะมาศึกษาโดยระเอียดตามขั้นตอนต่างๆที่ได้กำหนดลูกศรเอาไว้แล้วว่าตัวบรรจุภัณฑ์นี้มีส่วนไหนที่ควรศึกษาไว้เป็นความรู้ไว้บ้างโดยจะแบ่งได้ 2 ภาพได้แก่
ภาพที่1
1. หมายเลขที่นี้จะเป็นส่วนของโลโก้หรือยี่ห้อของกล้วยตากนั้นก็คือ "จิราพรกล้วยตาก" โดยส่วนนี้นั้นเป็นการพิมพ์แบบ Offset (อ๊อฟเซท) โดยการพิมพ์นี้จะมีขั้นตอนในการพิมพ์เพิ่มเข้าไปนั้นก็คือในส่วนของการพิมพ์เคลือบมันเพราะตัวกล่องนั้นจะเป็นการพิมพ์แบบด้านนั้นเองแล้วสังเกตุดีๆที่ตัวโลโก้นั้นจะมีสีทองๆโดยศัพท์การพิมพ์เค้าเรียกว่า "การปั๊มทอง" โดยตัวอักษรนั้นจะเป็นสีทองสว่างทำให้ดูเด่น
2. หมายเลขนี้จะเป็นส่วนของวัสดุของตัวบรรจุภัณฑ์นั้นเองก็ของเป็นกระดาษกล่องแป้ง 300 แกรมขึ้นไปหรือจะเป็นกระดาษอาร์ตการ์ด 260 แกรมขึ้นไป เพื่อความสวยงามและทนทานนั้นเอง
3. หมายเลขนี้จะเป็นส่วนของตัวกล้วยตากโดยเค้าจะเน้นที่ตัวกล้วยมากให้เป็นรูปใหญ่สะดุดตาแล้วเค้าได้ใช้เทคนิคการพิมพ์โดยใช้การ "ปั๊มนูน"ขึ้นมาให้เหมือนกับว่าเป็น 2 มิติ แต่เท่านี้คงจะไม่ดูโดดเด่นเท่าไรเค้าจึงได้ "พิมพ์เคลือบมัน" เข้าไปอีกทำให้ตัวกล้วยนั้นดูเงางามน่ารับประทานยิ่งขึ้น
4.หมายเลขนี้จะเป็นส่วนของการอธิบายส่วนประกอบต่างๆว่ามีอะไรบ้างโดยหลักแล้วจะเป็นกล้วยน้ำว้าอย่างเดียว แล้วด้านล่างนั้นก็จะเป็นส่วนของผู้ผลิตโดยเค้าจะใส่ที่อยู่ข้อมูลต่างๆเอาไว้เพื่อเป็นช่องทางค้าขายของบริษัทนั้นเอง โดยการพิมพ์ในส่วนนี้นั้นก็จะเหมือนๆกันนั้นก็คือ ปั๊มนูน,การปั๊มทอง,การเคลือบเงา นั้นเอง
ภาพที่2
1. หมายเลขนี้จะเป็นส่วนของความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับการระประทานกล้วยโดยเค้าได้ใส่ความรู้ไว้มากมายโดยจะเน้นไปทางการดูแลสุขภาพจะบอกว่าประโยชน์ของการกินกล้วยนั้นก็คือจะช่วยในเรื่องของคนที่เป็นโดรคโลหิตจางเพราะธาตุเหล็กในตัวกล้วยนั้นจะไปกระตุ้นการสร้าง "ฮีโมโกลบิน" ในเม็ดเลือดนั้นเอง และยังช่วยในเรื่องของความดันอีก เพราะตัวกล้วยนั้นมีธาตุ "โปรแตสเซียม" สูงและมีเกลืออยู่น้อยมากและพบกว่ากล้วยนั้นสามารถลดการเสียชีวิตจากการหัวใจหายได้ 40 %
2. หมายเลขนี้จะเป็นส่วนของการใส่รูปภาพต่างๆในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นเองโดยการพิมพ์นั้นก็จะเหมือนข้อต้นๆ นั้นก็คือการพิมพ์แบบ "เคลือบเงา,ปั๊มพ์นูน" โดยเค้าจะเอารูปกล้วยเข้ามาใส่เพื่อให้รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนก็สามารถรับประทานกล้วยตากได้นั้นเอง "Anytime with JIRAPORN Dried Banana"
3. หมายเลขนี้จะเป็นส่วนของรูปภาพสถานที่ผลิตตัวกล้วยตากจิราพรโดยได้นำเอารูปมาไว้ที่ด้านข้างแล้วเทคนิคในการพิมพ์นั้นก็เหมือนเดิมนั้นก็คือการ "ปั๊มนูน,การเคลือบเงา,การปั๊มทอง" นั้นเองแล้วสังเกตุที่ด้านล่างนั้นก็จะเป็นส่วนของความรู้ที่ได้จากกินทานกล้วยนั้นก็คือถ้าคุณทานไปแล้วคุณจะได้พลังงานต่อวันเท่าไรเค้าก็มีบอกหมดเพื่อให้เราได้ตระหนักถึงสุขภาพที่เราได้มานั้นเอง
4. หมายเลขนี้จะเป็นส่วนของความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับว่ากล้วยนั้นได้ให้พลังงานยังไงเท่าไรต่อวันแล้วความจะหาพลังงานอะไรที่ตัวเราควรได้ต่อวันนั้นเองถือว่าเป็นความรู้ที่ควรศึกษาแล้วเทคนิคการพิมพ์นั้นก็เหมือนกข้างต้นหมดเลยเพราะมันอยู่ในธีมเดียวกัน และส่วนของการเปิดกล่องนั้นจะเป็นการเปิดปิดแบบธรรมดานั้นเองแต่จะมีพิเศษนั้นก็คือมีการปะจุดบริเวณช่องปิดกล่องเมื่ออยากเปิดกล่องนั้นต้องฉีกตัวประจุดให้ได้ก่อนจึงจะเปิดได้นั้นเอง
คำศัพท์ในการพิมพ์
การปั๊มนูน (Embossing)
การปั๊มทอง (Foil/Hot Stamping)
การพิมพ์เคลือบเงา UV
การเคลือบ PVC ด้าน

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Wooden Matches Block (กล่องไม้ขีดไฟ)

Ambalaj blog publishes packaging design stories from all over the world. Packaging news in general, for food & beverages in particular. Highlighting different approaches on structural packaging, graphic design and brand strategy. A source of inspiration and celebration of good cases and clever designers

AMBALAJ บล็อกเผยแพร่เรื่องราวออกแบบบรรจุภัณฑ์จากทั่วทุกมุมโลก ข่าวบรรจุภัณฑ์โดยทั่วไปสำหรับอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เน้นวิธีการที่แตกต่างกันบนบรรจุภัณฑ์การออกแบบกราฟิกโครงสร้างและกลยุทธ์แบรนด์ แหล่งที่มาของแรงบันดาลใจและการเฉลิมฉลองของกรณีที่ดีและการออกแบบที่ชาญฉลาด

Packaging and product very well integrated. You don’t need to open anything to reach the matches, you just break it off. I love the thinking. By Fitzsu Society. Have a look at their website, some really nice products there.
บรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการได้เป็นอย่างดี คุณไม่จำเป็นต้องเปิดทุกอย่างเพื่อชนะการแข่งขันคุณเพียงแค่ทำให้มันแตกออก ฉันรักความคิด โดย Fitzsu สังคม มีลักษณะที่เว็บไซต์ของพวกเขาบางผลิตภัณฑ์ที่ดีจริงๆมี
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.fitzsu.com/Wooden_Matches_Block_of_100_p8977.html

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมการสืบค้นข้อมูลในสัปดาห์แรก

กิจกรรมสืบค้นความรู้เป็นการบ้านวันนี้ ให้สืบค้นความหมายของคำว่า
-1.การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)
-2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)


1.1 การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)
การออกแบบกราฟิก(Graphic Design) มาจากคำในภาษกรีซว่า Graphigo หมายถึงการเขียนภาพด้านสีและลักษณ์ขาวดำเมื่อมารวมกับคำว่า Graphein ซึ่งแปลว่าการเขียนตัวหนังสือ และการสื่อความหมายโดยใช้เส้นคำว่า กราฟฟิก จึงมายถึงงานที่แสดงความจริงหรือความคิดที่มุ่งเน้นจากทางการเขียนตัวอักษรหรือวาดรูป
คำว่า "กราฟฟิก" มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ(2536) ได้ให้ความหมายของคำว่า "กราฟฟิก" ไว้ว่า วัสดุลายเส้นซึ่งได้แก่วัสดุที่เกิดจากการวาดและการเขียนมีลักษณะ 2 มิติ ซึ่งได้แก่การออกแบบจัดภาพประกอบ การประดิษฐ์ตัวอักษร
การทำงานพิมพ์เป็นต้น

อารีย์ สุทธิพันธ์ ได้ให้ความหมายของคำว่า "กราฟฟิก" ไว้ว่า
การออกแบบที่เกี่ยวกับการออกแบบเครื่่องหมายการออกแบบที่เกี่ยวกับการพิมพ์ต่างๆที่ใช้ในอุตสหกรรม
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า งานออกแบบกราฟฟิกเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกทางด้านความคิดผ่านทางภาพวาดหรือตัวอักษร ผู้สร้างงานแบบนี้จะเลือกว่านักออกแบบกราฟฟิก (Graphic Designer) โดยมีจุดมุ่งหมายไปที่การค้าซะส่วนใหญ่
อ้างอิงจาก : graphic_design.pdf 

1.2 การออกแบบกราฟฟิก(Graphic Design)

การออกแบบกราฟิก
ความหมายของการออกแบบกราฟิกเป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่

ขอบข่ายของงานกราฟิก
งานกราฟิกเป็นงานที่ดูเผิน ๆ น่านะเกี่ยวกับงานพิมพ์เท่านั้นแต่จริง ๆ แล้วงานกราฟิกยังเป็น งานที่มีความเกี่ยวพันกับงานอื่น ๆ อีก ได้แก่
                การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไม่ดึงดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่างผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้
งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(Title) สไลด์ ฯลฯ
งานจัดฉากละคร เช่นการจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ
งานหนังสือพิมพ์ วารสารนิยมใช้สัญลักษณ์ทางการฟิกกันมากเพราะสัญลักษณ์เหล่านี้ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน
เขียนภาพเหมือน
งานพิมพ์หรือทำสำเนา
ทำซิลค์สกรีน
การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ
ความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิก
1. การออกแบบที่ดีต้องทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น
2. ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน
4. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ
6. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม
ประเภทของงานกราฟิก
การออกแบบงานกราฟิกใด ๆ ย่อมมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะของงานหรือเงื่อนไขต่าง ๆของงานและวิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับปัจจัยทุกด้านในการสร้างงานออกแบบจึงควรศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญ ๆ หลาย ๆ ด้าน แนวทางในการคิดงานกราฟิก จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อหรืองานแต่ละประเภทโดยสามารถจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้
อ้างอิงจาก : www.cmmedia99.com

1.3 การออกแบบกราฟฟิก(Graphic Design)
ความหมายของกราฟิก
กราฟิกหมายถึงภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนหรือการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบหรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึง กระบวนการออกแบบต่างๆในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิก การเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลากหรือลวดลายหรือภาพประกอบหรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุภัณฑ์สินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น
กราฟิก(Graphic)
งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและ กระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นพับแผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและหลักการทางการ ออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพในการที่จะเป็นตัว กลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆขบคิดแนวทางและวางรูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อ นั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการรับรู้ ยอมรับ และมีทัศนะคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น
อ้างอิงจาก : Graphic Designer

2.1การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีน วัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายพอสรุปได้ดังนี้
1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)
3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่า จะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด
5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์
6. Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์
8. Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า

ส่วนความหมายของ “ หีบห่อ ” “ บรรจุภัณฑ์ ” หรือ “ ภาชนะบรรจุ ” (Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้ บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด
2. Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ
1. การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย

2. ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง ( ทางเรือหรือทางอากาศ ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “ Container ” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน
อ้างอิงจาก : www.mew6.com

2.2การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
บรรจุภัณฑ์ หมายถึง สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้สำหรับห่อหุ้ม
ป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต
ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภค

Packagingหรือการบรรจุหีบห่อ คือแนวความคิดรวมของระบบในการเตรียมสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย ขนส่ง เพื่อการเก็บรักษาและการตลาด ให้เหมาะสมกับต้นทุนสินค้าและคุณสมบัติของสินค้า

ปัจจุบันเทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน ของคนเรามากขึ้น การบรรจุหีบห่อมีความสำคัญมากขึ้นโดยลำดับ เนื่องจากการบรรจุหีบห่อเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำสินค้าจากแหล่งผลิตสู่มือ ผู้บริโภคในคุณภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ บรรจุภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับขั้นตอนต่างๆ หลายขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมสินค้า การ บรรจุ การลำเลียงและขนส่ง จนถึงการตลาด

อ้างอิงจากthaipackaging

2.3การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
ในยุค หินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้ มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละ ยุค
การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่ง ถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้
- See more at: http://library.vu.ac.th/km/?p=504#sthash.LoGrqMX9.dpuf
การออกแบบกราฟฟิกหมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ ( to communicate ) ในอันที่จะให้ผล ทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภคเช่น ให้ผลในการดึงดูด ความสนใจ การให้มโนภาพถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ ์ผู้ผลิต ด้วยการใช้วิธี การออกแบบ การจัดวางรูป ตัวอักษร ถ้อยคำ โฆษณา เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ ทางการค้า แล ะอาศัยหลักศิลปะการ จัดภาพให้เกิดการประสานกลมกลืน กันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้วางไว้
     การออกแบบกราฟฟิก บรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างสรรค์ได้ทั้งลักษณะ 2 มิติ บนพื้นผิวแผ่นราบของวัสดุเช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะอาบดีบุก หรืออลูมิเนียม โฟมฯลฯ ก่อนนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน เป็นรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ ส่วนในลักษณะ 3 มิติก็อาจทำได้ 2 กรณีคือ ทำเป็นแผ่นฉลาก                           ( label) หรือแผ่นป้าย ที่นำไปติดบนแผ่นบรรจุภัณฑ์ประเภท rigid forms ที่ขึ้นรูปมา เป็นภาชนะบรรจุสำเร็จมาแล้ว หรืออาจจะสร้างสรรค์บนผิวภาชนะบรรจุ รูปทรง 3 มิติ โดยตรงก็ได้เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติกเป็นต้น ซึ่งลักษณะของการออกแบบกราฟฟิก บรรจุภัณฑ์นี้ส่วนใหญ่มักถือตามเกณฑ์ของเทคนิคการ พิมพ์ในระบบต่างๆเป็นหลัก
อ้างอิงจาก : www.agro.cmu.ac.th

สรุป
ความหมายของ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือ การออกแบบที่สวยงามเน้นประโยชน์ใช้สอยและยังคงมีความคงคนหรือเพื่อรักษาสินค้านั้นๆได้เป็นอย่างดีเพื่อส่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้านั้นเอง

สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 13 มิถุนายน 2556

สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ภาคเรียนที่ 1/2556 
คราวนี้มี 2 กลุ่ม เปิดจำนวนเต็มไว้แค่ 30 คนต่อกลุ่ม กลุ่ม 101 ยังไม่เต็ม(วันที่ 10-6-2556) ผู้ที่จะลงทะเบียนเพิ่มโดยเฉพาะผู้ที่ติด F หรือ Drop ไว้ให้ไปลงเพิ่มในกลุ่ม 101 สำหรับนักศึกษาตกค้างรุ่นให้ไปลงทะเบียนกับกลุ่มภาคนอกเวลาเหลืออีก 1 กลุ่ม อย่าไปแย่งที่เรียนน้องๆ ตามตารางเรียนแจ้งไว้เป็นจันทร์-อังคาร เวลา 8.30-12.20 น. เรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์ 323-324 ของคณะมนุษย์ฯ ภาคนอกเวลา เรียนห้องเดิม วันพฤหัสบดี เวลา17.30-20.50 (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
สัปดาห์แรกมีกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม แต่จะเข้มขึ้นอีก เริ่มด้วย
1.ให้นศ.เข้าอ่านเมนูคำอธิบายรายวิชา และมาตรฐานการเรียนรู้ เล่มเอกสาร มคอ.3 ศึกษาคำอธิบายรายวิชา ศึกษาวัตถุประสงค์ หัวข้อเนื้อหาที่จะต้องเรียนรู้ วิธีการเรียน การร่วมกิจกรรม และดูตารางเวลาเรียน เวลาทำงานของผู้สอน จะได้เข้าใจว่า เรียนวิชานี้แล้วจะได้ความรู้อะไร จะติดต่อผู้สอนและต้องให้ความร่วมมือในการเข้าเรียนและทำกิจกรรมเยี่ยงใดบ้าง
2.ให้ตรวจสอบ แก้ไข หรือเพิ่มรายชื่อ และกรอกข้อมูลอีเมลส่วนตัว(@gmail.com)เท่านั้น แจ้งเบอร์โทรศัพท์ และสร้างเว็บบล็อกส่วนตัวตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ โดยแจ้ง-ทำลงในแบบบันทึกและประเมินผลการเรียน (ไฟล์ Google Spreadsheet) ที่สร้างให้คลิกเข้าทำ ไว้ให้แล้ว กรอกข้อมูลให้ตรงกับกลุ่มที่เรียนและรายชื่อที่ลงทะเบียน กรอกลงช่องล่างต่อเพิ่มสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนภายหลัง ทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์และเริ่มบันทึกบล็อกนับแต่สัปดาห์แรกนี้
ภาคปกติกลุ่ม101 เรียนวันจันทร์ คลิกเข้าทำที่นี่
ภาคปกติกลุ่ม102 เรียนวันอังคาร คลิกเข้าทำที่นี่
ภาคนอกเวลา กลุ่ม 201 เรียนวันพฤหัสบดี คลิกเข้าทำที่นี่
3. การสมัครเป็นผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง ที่ www.clarolinethai.info และที่ http://chandraonline.chandraonline.ac.th/claroline เตรียมสอบก่อนเรียนในสัปดาห์ที่สอง

4.ให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลาให้เข้าทำแบบสำรวจก่อนเรียน
ARTD3302:แบบสำรวจศักยภาพและความพึงพอใจของผู้เรียน ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ตามเกณฑ์มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ. ภาคเรียนที่1/2556 ทำแบบสำรวจ คลิกที่นี่

เปิดให้ทำถึงวันที่ 18 มิ.ย.12.00 น.5.สร้างเว็บบล็อกของ Blogger.com ตามรูปแบบที่กำหนดให้ คือใช้รหัสวิชานำ- เช่น artd3302-prachid ใช้ template blog เป็นแบบ Live on Blog ตั้งหน้าแสดงเป็น 2 คอลัมน์ ความกว้างเว็บบล็อก entire blog= 980 right side bar =330 เลือกภาพพื้นฺbackground imageจากหมวด เทคโนโลยี จัดวาง alingment =Center เป็นแบบกึ่งกลางระดับบน ไม่จัดเรียงภาพพื้นหลัง(Don't tile)

ตั้งค่าใส่คำอธิบายเว็บบล็อกเป็น " เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้ในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ของ....(ชื่อเจ้าของบล็อก)" และเริ่มบันทึกสาระความรู้ที่ได้ลงบล็อกทันที ว่าได้ทำได้ความรู้จากการที่อาจารย์สั่งงาน-สอนความรู้ในชั่วโมงเรียนอย่างไรบ้างเรียนและฝึกปฏิบัติ-ทำตามแล้วสรุปผลการเรียนรู้ให้ได้ ความยาวของเนื้อหาแต่ละโพสต์แต่ละสัปดาห์ ต้องไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด (คะแนนกิจกรรมนี้ดูจากวันที่ที่โพสต์เนื้อหาลงบล็อกในแต่ละสัปดาห์)

5.เตรียมกิจกรรมแปลสรุปข่าวสารทางเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ 
ให้หาข่าวสารความรู้ ความก้าวหน้าทางการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ จากเว็บบล็อกเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ แปลสรุปเป็นไทย ใส่ใน Google Doc เริ่มรายงานหน้าชั้นในสัปดาห์ที่ 3( 26 มิ.ย.นี้) เรียงตามรายชื่อ ครั้งละ 3 คน ตอนต้นชั่วโมงเรียน พลาดแล้วไม่ย้อนหลัง
ปล.ในสัปดาห์ที่สอง จะมีการสอบวัดความรู้-ปฏิบัติก่อนเรียน ห้ามพลาด ห้ามขาด ห้ามลา
6.กิจกรรมสืบค้นความรู้เป็นการบ้านวันนี้ ให้สืบค้นความหมายของคำว่า
-1.การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)
-2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
โดยทำลงในโพสต์บล็อกของตนเอง อย่างน้อยคำละ 3 ความหมาย พร้อมอ้างอิงที่มาอย่างถูกต้องตามหลักการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการ (คลิกดู อ่าน ดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียน ได้จากที่นี่) แล้วสรุปเป็นความหมายเดียว(เขียนสรุปด้วยตนเอง)ว่า
สรุปความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์หมายถึง......

ปล.ผู้ไม่เข้าเรียนครั้งแรกและผู้ลงทะเบียนเพิ่มภายหลัง เมื่ออาจารย์อนุญาตให้ลงเพิ่มแล้ว ต้องติดตามงาน ทำงานตามกำหนดเวลาที่วางไว้ จะนำมาอ้างว่าไม่ส่งงานเพราะพึ่งจะลงทะเบียนเรียนไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไขในการประเมินผลการเรียน

ในการปรับพื้นฐานทักษะการบริหารจัดการความรู้ (Basic Information Management Skill) การสื่อสารส่วนบุคคลและการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นระบบเดียวกัน (Personal Communication Chanel and Social Network System Skill) โดยกำหนดเป็นข้อตกลงให้ทุกคนต้องฝึกฝนทักษะปฏิบัติการ การรับรู้และรับส่งข่าวสารด้วยการใช้งานเครื่องมือฟรีจากระบบออนไลน์(Cloud Management Tool)ที่ได้มาตรฐานสากลคือจากระบบบริการของ Google เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกมิติ การให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม(Workgroup) โดยให้แบ่งกลุ่มทำงานร่วมกัน หรือทำงานเดี่ยวอย่างเป็นระบบต่อไป